ประมวล Tag: Burden

#BURDEN แรงบันดาลใจจากเรื่องจริง ของลัทธิเหยียดผิวหัวรุนแรง Ku Klux Klan ที่สั่นสะเทือนอเมริกา >>


Burden เป็นผลงานการกำกับของ แอนดรูว์ เฮคเลอร์ นักแสดงหนัง/หนังสั้น/ซีรี่ส์ ซึ่งผันตัวเองมากำกับและเขียนบทหนังขนาดยาวเป็นครั้งแรก โดยสาเหตุที่ทำให้เขาอยากทำหนังเรื่องนี้ เนื่องจากเขาเคยอ่านหนังสือพิมพ์แล้วเจอเรื่องของการสร้างร้านขายของและพิพิธภัณฑ์ของลัทธิคูคลักซ์แคลนช่วงปี 1997 ในรัฐเซาท์คาโรไลน่า แกเร็ตต์ เฮดลันด์ นักแสดงหนุ่มมาดเท่จาก Tron: Legacy (2010) รับบทเป็น ไมค์ เบอร์เดน ตัวเอกของเรื่อง…
 อ่านต่อ »

“ เมื่อชีวิตคนไม่มีค่า เพียงเพราะพวกเขาเกิดมาเป็นคนผิวดำ แล้วอะไรคือความยุติธรรม “ BURDEN สร้างจากเรื่องจริง ของขบวนการคนเหยียดคน ที่สั่นสะเทือนอเมริกา ผลงานของผู้สร้างเจ้าของรางวัลออสการ์จาก Dallas Buyers Club >>


Burden เป็นผลงานการกำกับครั้งแรกของ แอนดรูว์ เฮคเลอร์ ที่สร้างจากเหตุการณ์จริงของขบวนการคนล่าคนลัทธิคูคลักซ์แคลนช่วงปี 1996 ในรัฐเซาท์คาโรไลน่าที่ เฮคเลอร์ใช้เวลาในการพัฒนาบทหนังเรื่อง Burden ไม่ต่ำกว่า 15 ปีกว่าจะได้ลงมือถ่ายทำจริงโดยได้ ฟอเรสต์ วิเทเกอร์ ( นักแสดงเจ้าของรางวัลออสการ์สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยมจาก The Last King of…
 อ่านต่อ »

ผู้สร้าง Dallas Buyers Club นำ BURDEN ผงาดเทศกาลภาพยนตร์ซันแดนซ์ คว้ารางวัลขวัญใจมหาชน Audience Award >>


ถือเป็นภาพยนตร์ม้ามืดมาแรงแห่งปีสำหรับ Burden ที่เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ในเทศกาลหนังซันแดนซ์เมื่อปี 2018 แล้วได้รางวัล U.S. Dramatic Audience Award มาครองได้  โดยหลังออกฉายในเทศกาลต่าง ๆ หนังใช้เวลากว่า 2 ปี เพื่อจะได้ออกฉายในอเมริกา Burden เป็นผลงานการกำกับของ แอนดรูว์ เฮคเลอร์ นักแสดง…
 อ่านต่อ »

“ แอนดรูว์ เฮคเลอร์ “ จากนักแสดงสายแอคชั่น สู่ผู้กำกับภาพยนตร์สายคุณภาพ “ Burden “ >>


เป็นที่รู้กันดีว่า กว่าหนังจะสร้างหนังอินดี้ได้สักเรื่อง ต้องอาศัยความอดทนและความมานะบากบั่นอย่างยากลำบากแค่ไหน และคนที่สามารถมายืนยันเรื่องนี้ได้ดีที่สุดคือ แอนดรูว เฮคเลอร์ อดีตนักแสดงที่ผันตัวมาเป็นคนทำหนัง เพราะเขาตั้งใจอยากจะทำหนังเรื่องแรกของตนเองมาตั้งแต่ปี 1996 และเขาพยายามดิ้นรนเพื่อทำหนังมาตลอด 2 ทศวรรษ แอนดรูว์ เฮคเลอร์ เคยเล่นบทสมทบเล็กๆ ในหนังใหญ่อย่าง Armageddon และซีรีส์ดังอย่าง Ally McBeal เขาเป็นเจ้าของคณะละครเวิร์คเฮ้าส์เธียร์เตอร์ คณะละครเล็กๆ ในนิวยอร์ก ที่เขาทั้งกำกับและแสดงไปแล้วกว่า 30 เรื่อง เขาไม่เคยล้มเลิกความตั้งใจที่จะทำหนัง และแล้วในที่สุด Burden หนังเรื่องแรกที่เขาทั้งเขียนบทและกำกับ ก็ได้เวลาลงโรงฉายเสียที Burden สร้างมาจากเรื่องจริง แกร์เรตต์ เฮดลันด์ รับบท ไมค์ เบอร์เดน อดีตสมาชิกกลุ่มคลูคลักซ์แคลน์ (Klu Klux Klan หรือ KKK เป็นสมาคมลับของกลุ่มคนที่เหยียดคนผิวดำ) ในเซาธ์แคโรไลนาที่พยายามกลับตัวกลับใจ โดยได้รับความช่วยเหลือจากแม่ลูกติดคนหนึ่ง (แอนเดรีย ไรส์เบอโรห์) และสาธุคุณเดวิด เคนเนดี (ฟอเรสต์ วิเทเกอร์) ร่วมด้วยนักแสดงมากฝีมืออย่าง ทอม วิลคินสัน และ อัชเชอร์ หนังออกฉายรอบปฐมทัศน์ในเทศกาลหนังซันแดนซ์ปี 2018 และชนะรางวัลขวัญใจมหาชน คุณได้ยินเรื่องราวของไมค์ เบอร์เดนครั้งแรกตอนไหน  ผมมีคณะละครและโรงละครของผมเองในนิวยอร์ก ซึ่งผมทั้งเขียนบทเอง สร้างเอง กำกับเอง และแสดงเองด้วย พวกเราไม่มีใครถนัดหาทุนเลย เพราะฉะนั้นทางเดียวที่โรงละครจะอยู่รอดได้ก็คือ ต้องผลิตละครต่อเนื่องโดยไม่ให้เวทีว่าง เราต้องช่วยกันหาเรื่องราวจากทุกสารทิศมาทำเป็นบทละคร แล้วผมก็ได้อ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์เล็กๆ จากรัฐทางใต้ฉบับหนึ่ง ประมาณปี 1996 ผมตะบี้ตะบันอ่านหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเพื่อหาข่าวแปลกๆ มาทำละคร แล้วผมก็ได้เห็นข่าวหนึ่งพาดหัวว่า “สมาชิกคลูคลักซ์แคลนเปิดร้านเฉพาะคนผิวขาว และเปิดพิพิธภัณฑ์ของกลุ่มคลูคลักซ์แคลน” ผมอ่านแล้วก็ชอบในความสุดโต่งของข่าวนี้ และตัดเก็บไว้ในแฟ้ม เพื่อจะกลับมาหารายละเอียดเพิ่มเติมตอนมีเวลา แต่แล้วในปีต่อมา ผมก็ได้อ่านข่าวที่พาดหัวว่า “สมาชิกคลูคลักซ์แคลนขายร้านและพิพิธภัณฑ์ให้นักบวชผิวดำแล้ว” ผมอ่านแล้วคิดในใจว่า บ้าไปแล้ว ผมเลยรีบยกหูโทรคุยกับนักบวชคนนั้น แล้วผมก็รีบขับรถไปยังเซาธ์แคโรไลนาทันที ที่ผมทำแบบนั้น เพราะครั้งหนึ่งผมเคยนั่งคุยกับ บิลลี่ บ็อบ ธอร์นตัน ตอนนั้นเขากำลังทำหนังเรื่อง Sling Blade เขาคอยย้ำกับผมว่า “จำไว้นะ ไม่ว่านายจะทำอะไร ถ้านายต้องเขียนบทสักเรื่อง นายต้องออกจากอะพาร์ตเมนต์ ไปยังสถานที่แห่งนั้น และถึงแม้มันจะไม่ได้เกิดจากเรื่องจริงก็เถอะ…นายต้องไปยังฉากหลังที่นายเขียน ไปสัมผัส ไปอยู่ที่นั่น สูดทุกสิ่งทุกอย่างเข้าไปในร่างกาย” เสียงของเขาดังก้องอยู่ในหัวของผม ผมขับรถไปถึงที่นั่น ได้พบบุคคลในข่าว และผมก็ใช้เวลา 10 วันเพื่อคุยกับพวกเขาเป็นครั้งแรก ผมไปเยือนโบสถ์แห่งนั้น ไปทำความรู้จักกับท่านสาธุคุณ และผู้ดูแลโบสถ์ที่ชื่อ แคลเรนซ์ (ในหนังรับบทโดย อัชเชอร์) จากนั้นผมก็กลับไปที่นั่นอีกรอบหนึ่ง เพื่อเก็บข้อมูลให้แน่ใจว่า มันมีเรื่องราวอีกด้านที่ผมคิดไม่ถึงหรือเปล่า เพราะผมไม่ได้อยากทำหนังที่ว่าด้วย ธรรมะต่อสู้กับอธรรม หรือหนังยอดมนุษย์ ซึ่งถ้าคุณเป็นนักแสดง คุณเรียนการละครมา คุณไม่มีทางอยากเขียนตัวละครแบนๆ แบบนั้นออกมาแน่ คุณจะต้องมองหาอะไรที่ลึกลับและซับซ้อนกว่านั้น มองดูว่าอะไรคือแรงขับของตัวละคร นักแสดงที่ดีจะไม่มีวันพูดว่า “ฉันจะมาพูดบทให้จบๆ แล้วกลับบ้าน”​แต่นักแสดงที่ดีจะถามว่า ปูมหลังของเรื่องทั้งหมดคืออะไร และหน้าที่คุณก็คือขุดเรื่องพวกนั้นขึ้นมา ผมเลยต้องขุดเรื่องนี้ แล้วผมก็ขุดไปจนถึงกลุ่มคลูคลักซ์แคลน ผมเลยไปที่นั่น และโทรหาพวกเขา   คุณโทรหาพวกคลูคลักซ์แคลนได้ง่ายๆ อย่างนั้นเลยเหรอ คืองี้ ผมโทรไปที่ร้านพวกเรดเนค (Redneck คือกลุ่มคนขาวที่เป็นชนชั้นกรรมกร และส่วนใหญ่มักมีทัศนคติเหยียดผิว) มีร้านพวกนั้นอยู่ ผมหลอกพวกเขาว่า ผมเป็นพวกนิยมผิวขาวสุดโต่งจากโคโลราโด พ่อผมอยู่ที่นั่นและที่นั่นมีพวกนิยมผิวขาวสุดโต่งเยอะมาก ผมบอกพวกเขาว่าผมกำลังจะขับรถไปพักร้อนที่ฮิลตันเฮด (เมืองรีสอร์ตบนเกาะในแถบเซาธ์แคโรไลนา) ผมอยากแวะไปทักทายพวกเขา และพวกเขาก็ตอบมาว่า “ได้เลย” ผมเลยไปขลุกอยู่กับพวกเขา ได้พูดคุยและได้รับรู้วิธีคิดของพวกเขา ซึ่งการพูดคุยครั้งนั้นก็ท้าทายผมมาก เพราะทุกอย่างมันค้านกับตัวตนและความเชื่อของผมโดยสิ้นเชิง เอาเข้าจริงมันก็ไม่ได้เป็นเรื่องลำบากใจอะไรนัก ผมไม่ถึงกับต้องฝืน ผมมักจะเข้าไปคลุกวงในกับคนกลุ่มต่างๆ อยู่แล้วเพื่อมาใช้ในงานแสดง เพราะฉะนั้นถ้าผมจะทำหนัง ผมก็ต้องลงทุนหน่อย แล้วผมก็ได้ข้อมูลเยอะมาก ได้รับรู้อะไรที่ลึก และความคิดที่มีหลายเฉด ซึ่งไม่ได้มีแค่ขาวกับดำ ทุกอย่างมันเทาๆ เหมือนมนุษย์เราทุกคน นับว่าเป็นประโยชน์กับบทหนังของผมมาก   ระหว่างการหาข้อมูลทั้งที่ยังไม่ได้มีแนวโน้มว่าจะทำเป็นหนัง คุณใช้เงินตัวเองทั้งหมดเลยเหรอ ใช่ ผมโง่มากที่ทำแบบนั้น และไม่ใช่แค่เดินทางไปเซาธ์แคโรไลนา ผมยังเดินทางไปยังเวสต์เวอร์จิเนียด้วย ผมใช้เงินเก็บหมดไปกับการเดินทาง และค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูล แถมยังต้องจ่ายค่าสิทธิ์ในการขอข้อมูลส่วนตัวด้วย (Life Rights คือ สิทธิ์ในการขอข้อมูลส่วนตัวของบุคคลใดบุคคลหนึ่งมาใช้งานในสื่อ เช่นภาพยนตร์หรือหนังสือ โดยต้องจ่ายและมีการเซ็นสัญญายินยอม) คุณจ่ายค่าเรื่องอย่างไร สำหรับ Burden ผมเองก็ไม่แน่ใจว่าตัวเองจ่ายไปถูกต้องตามกฎหมายหรือเปล่า แต่ผมจะเล่าเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับคนทำหนังอิสระก็แล้วกัน ผมได้ไอเดียมาจากข่าวในหนังสือพิมพ์ ซึ่งผมไม่จำเป็นต้องจ่าย เพราะมันเป็นสมบัติสาธารณะในตัวมันเอง ผมจ่ายเงินเล็กน้อยให้กับบุคคลที่ผมนำเรื่องของเขามาทำเป็นหนังในราคาที่ตกลงกัน ผมต้องการทำหนังเพื่อเชิดชูความเป็นมนุษย์ของพวกเขา ผมไม่ได้ทำเพื่อหาประโยชน์จากพวกเขา  …
 อ่านต่อ »