ข้อมูลภาพยนตร์เรื่อง ” BOYCHOIR (บอยควอย) – จังหวะนี้ ใจสั่งมา “

เรื่องราว

การเปล่งทะยานสุดพลังด้วยการขับร้องเสียงสูงอันอบอุ่นจากนักร้องวัยใสที่เหมือนแสงวูบเดียวแล้วต่อมาก็จางไป เป็นการเตือนความจำจากความงดงามในวัยเยาว์ที่แล่นผ่านมาและผ่านไปด้วยพลังอำนาจของเวลา นับศตวรรษแล้วที่เสียงร้องอันบริสุทธิ์โดยนักร้อง Boychoir ได้กลายเป็นศิลปินและผู้เป็นแรงบันดาลใจทางจิตวิญญาณสืบต่อไป แต่ตอนนี้ในศตวรรษที่ 21 ท่ามกลางเสียงเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ที่เอ่อล้น เสียงร้องธรรมชาติอันใสแจ๋วของมนุษย์จะกระทบใจผู้ฟังอย่างที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน

BOYCHOIR (4)

มันเป็นวงดนตรีประสานเสียงของกลุ่มนักร้องที่เร้าร้อน ทั้งเด็กและแก่,ใหม่และเป็นตำนาน การสร้างภาพยนตร์ Boychoir เริ่มต้นด้วยบทภาพยนตร์ของเบน ริปลีย์ ซึ่งเคยมีผลงานเขียนบทหนังไซไฟ-ทริลเลอร์ที่รู้จักกันเรื่อง SOUECE CODE ซึ่งเต็มไปด้วยเสียงเปียโนคลาสสิกคลออยู่ตลอดเรื่อง ตอนที่เขาได้ศึกษาเกี่ยวกับโรงเรียนบอยชอร์ซึ่งเป็นที่สร้างเด็กเสียงทองประดับวงการไว้มากมาย ริบลีย์สนใจโลกที่ไม่ค่อยถูกนำเสนอที่อัจฉริยะกำลังเผชิญหน้ากับวันที่พรสวรรค์หมดอายุ เขาพบกับความขัดแย้งกับเด็กผู้มีสามารถของวันนี้แต่ไม่เคารพบรรพบุรุษหรือศิลปะทางจิตใจ และที่สำคัญที่สุดเป็นโอกาสอันดีที่ได้สร้างเรื่องราวที่เต็มไปด้วยแก่นเรื่องความเป็นเด็ก, การเรียนการสอน, ความใฝ่ฝัน, การไม่ยังยืน และจังหวะที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปของชีวิต

BOYCHOIR (2)

ดังนั้นจึงเกิดเป็นเรื่องราวของ สเต็ท ผู้ที่ไม่น่าจะได้เรียนในโรงเรียนบอยชอร์เป็นที่สุด และครูผู้ควบคุมวงดนตรีประสานเสียง ทั้งที่เขาเแข็งแกร่งเหมือนเหล็กกล้า เป็นคนนิยมความสมบูณ์ แต่เขาก็ยังให้ใจอ่อนและโอกาสต่อสเต็ท

ผู้อำนวยการสร้าง จูดี้ ไคโร (CRAZY HEART) ผู้ได้เห็นบทภาพยนตร์ของเบน ริบลีย์ ไคโรจึงรีบนำบทภาพยนตร์ไปให้ผู้กำกับที่รู้กันว่ามีความสามารถในการนำดนตรีสร้างให้เกิดชีวิตบนจอภาพยนตร์ ซึ่งคือผู้กำกับภาพยนตร์,ละครเพลง และโอเปร่า “ฟรองซัวส์ ฌิราร์” นั่นเอง เขาเคยมีผลงานภาพยนตร์ดราม่าที่ได้ชนะเลิศอะคาเดมี่ อวอร์ด จาก THE RED VIOLIN เขาจึงถูกดึงตัวมากำกับเรื่องนี้โดยทันที

BOYCHOIR (1)

“ผมได้รับบทภาพยนตร์จากจูดี้ ไคโร โดยไม่รู้อะไรมากเท่าไหร่ และผมพบว่าผมชอบมันเมื่อได้อ่านครับ” ฌิราร์ กล่าว “มันเป็นสคริปต์ที่เต็มไปด้วยความจริงและหลายส่วนก็ถูกเขียนโดยนักเขียนที่ยังเป็นนักดนตรีอีกด้วย ซึ่งสำคัญมากเพราะว่าดนตรีเป็นเรื่องยากที่จะแปรเปลี่ยนเป็นตัวอักษร แต่ เบน ริบลี่ย์สามารถทำสองสิ่งให้เข้ากันได้”

ฌิราร์ยังให้เหตุผลที่ไม่อาจต้านทานได้ “ผมบอกเธอว่าผมสนใจดัสติน ฮอฟแมน ผมเคยคุยกับเขาเกี่ยวกับโปรเจ็กต์อื่นซึ่งไม่เคยได้ทำ สำหรับผม นี่เป็นโอกาสที่จะทำลายความผิดหวังเหล่านั้นไปซะที” เขาหัวเราะ “จริงๆ แล้ว ตอนที่ผมอ่านสคริปต์ ช่วยไม่ได้จริงๆ ที่ดัสติน จะอยู่ในหัวผมสำหรับบทครูคาร์เวลล์ ไปแล้ว”

ผู้กำกับไม่ได้คาดหวังจะกำกับแต่ถูกล่อใจโดยคอนเซฟต์ของนักเรียนบอยชอร์ ซึ่งไม่เพียงป็นการย้อนรำลึกวัยเด็กที่กำลังหล่นหายไปเท่านั้น แต่มันยังมีความสำคัญต่อทุกเพศทุกวัยของทุกขอบเขตประสบการณ์ เพื่อยึดมั่นโอกาสข้างหน้าที่ดีของพวกเราอีกด้วย

BOYCHOIR (3)

“ความไม่ยั่งยืนของโรงเรียนบอยชอร์ เป็นการเตือนตัวเองว่าการเดินทางของชีวิตนี้นั้นพวกเราจะได้รับบางสิ่งและสูญเสียบางอย่างไปอย่างไม่รู้ตัวอยู่เสมอ” ฌิราร์ ออกความเห็น “มนุษย์มีแนวโน้มที่จะเข้าใจประสบการณ์ของเราในแบบไม่เปลี่ยนแปลง แต่ในความเป็นจริงนั้น มันเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวและพัฒนาอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าพวกเราต้องการใช้ชีวิตด้วยความแน่นอน แต่ความแน่นอนของเราจะถูกพังทลายเข้าสักวัน นี้เป็นสิ่งที่จริงสำหรับเด็กชายร้องเพลงประสานเสียงในเรื่อง แต่ผมคิดว่าทุกคนสามารถอินไปกับมันได้ครับ”

ที่มา:  สหมงคลฟิล์ม
บันทึกภาพ:  สหมงคลฟิล์ม
นำเสนอโดย www.starupdate.com หากนำข่าวไปใช้กรุณาอ้างอิงถึง www.starupdate.com ด้วย
ข่าวนี้อยู่ในหมวด Movie Update และ Tag: , , ติดตาม comment ของข่าวนี้ผ่านทาง RSS feed
Trackbacks are closed, but you can post a comment.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รับฟัง ‘The Mystery of Your Gift’ หนึ่งในเพลงประกอบสุดไพเราะจาก “BOYCHOIR จังหวะนี้ ใจสั่งมา”

BOYCHOIR จังหวะนี้ใจสั่งมา การกลับมาสร้างหนังเกี่ยวกับดนตรี ครั้งแรกในรอบ 10 ปี ของผู้กำกับ The Red Violin ได้“จอช โกรแบน ศิลปินเจ้าของรางวัลแกรมมี่อวอร์ด จัดเต็มเพลงประกอบในภาพยนตร์

ดัสติน ฮอฟแมน ปลื้ม อังกฤษเลือก “ BOYCHOIR จังหวะนี้ ใจสั่งมา “ เข้าฉายในเทศกาลภาพยนตร์ กลาสโกว์ ในโปรแกรม ใหญ่สุดของเทศกาล

ผู้กำกับ THE RED VIOLIN ( เดอะ เรด ไวโอลิน ) ดึง 2 นักแสดงเจ้าของรางวัลออสการ์ ดัสติน ฮอฟแมน เคธี่ เบทส์ และหนุ่มน้อยเสียงสวรรค์ แกรี่ แวร์ริ่ง ใน BOYCHOIR จังหวะนี้ใจสั่งมา